วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

คือวงปี่พาทย์ผสมชนิดหนึ่ง มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจาก การแสดงละครดึกดำบรรพ์ซึ่ง เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดย อาศัยแนวอุปรากร (Opera) ของตะวันตกเข้าประกอบ


ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละครซึ่งเจ้า พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้งชื่อว่า โรงละครดึกดำบรรพ์ ละครก็เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์ ด้วย วงปี่พาทย์ที่

ใช้ประกอบการแสดงละครนี้จึงมีชื่อว่า "ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" ประกอบ ไปด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับ

การแสดงละคร ดึกดำบรรพ์ดังนี้

- ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม) 1 ราง

- ตะโพน 1 ใบ

- ระนาดทุ้ม 1 ราง

- กลองตะโพน 1 คู่

- ระนาดทุ้มเหล็ก 1 ราง

- ฉิ่ง 1 คู่

- ฆ้องวงใหญ่ 1 วง

- ซออู้ 1 คัน

- ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

- ขลุ่ยอู้ 1 เลา

- ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะมีการประสมวงในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไป

จากลักษณะของวงปี่พาทย์ทั่วไปแล้วยังได้เปลี่ยนแปลง

ตำแหน่งของการวางเครื่องดนตรี อีกด้วยกล่าวคือ ตั้งระนาดเอกไว้ตรงกลางวง ระนาดทุ้มอยู่ขวา ระนาดทุ้มเหล็ก อยู่ซ้าย ฆ้องวงใหญ่อยู่หลัง

ระนาดเอก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น