วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญนั้นโดยแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในโอกาสต่างๆทั้งงานมงคล เช่นงานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรีและงานอวมงคล

เช่นงานศพ การที่วงปี่ พาทย์มอญเป็นที่นิยมบรรเลงเฉพาะในงานศพในปัจจุบันก็เพราะว่าท่วงทำนองเพลง และการบรรเลงมีสำเนียงและลีลาที่

โศกเศร้าเข้ากับบรรยากาศของงานศพดังลายพระ หัตถ์ที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ในหนังสือ

สาส์นสมเด็จที่กล่าวถึงที่มาของการใช้วงปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพมี ความว่า

          "เรื่องที่ใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้นหม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวงตรัสเล่าว่าปี่พาทย์มอญทำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องาน

สมเด็จพระเทพสิรินทรา บรมราชินีด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระเทพสิรินทราฯทรงเป็นเชื้อ สายมอญแต่จะเป็นทางไหนหม่อม

ฉันไม่ทราบเคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคนหนึ่งเรียกว่า "ท้าวทรงกันดาล ทรงมอญ"ว่าเพราะเป็นมอญพระองค์คงจะทราบดีว่าคงเป็นเพราะเหตุ นั้น

งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้นโดยเป็น เชื้อสายของสมเด็จพระเทพสิรินทราฯ คนภายนอกอาจจะเอา

อย่างงานพระศพหลวงไป เพิ่มหรือไปหาเฉพาะปี่พาทย์มอญมาทำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิมแล้วจึงทำตามกันต่อ มาจนพากันเข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็น "ศพผู้ดี"เหมือนกับเผาศพต้อง จุดพลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง อันที่จริงปี่พาทย์มอญนั้นชาวมอญเขาก็ใช้ทั้งใน
งานมงคลและงานศพเหมือนกับปี่พาทย์ไทย กลองคู่กับปี่ชวา และ ฆ้อง ประสมกันซึ่ง เรียกว่า "บัวลอย" ก็ใช้ทั้งงานศพและงานมงคล"



<<<ก่อนหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น