วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงมโหรีสมัยปัจจุบัน

วงมโหรีที่นิยมใช้บรรเลงกันอยู่ในปัจจุบัน  เห็นได้ว่ารวมเอาเครื่องดีดสี เช่น ซอ จะเข้ และเครื่องตีเป่า เช่ ระนาด ฆ้อง โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ และขลุ่ย เข้าผสมวง แต่ย่อขนาดเครื่องตีบางอย่าง เช่น ระนาด และฆ้องวงให้เล็กลง ปรับเครื่องตีเป่าที่ผสมวงให้เสียงประสานกลมกลืนกันกับเครื่องดีดสี และเล่นรวมวงกันได้ทั้งศิลปินชายหญิง กำหนดวงตามจำนวนศิลปิน และเครื่องดนตรีที่รวมผสมวงเป็น 3 ขนาด เรียกชื่อวงตามจำนวนเครื่องและศิลปิน



วงมโหรีโบราณ

มีเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงเพียง ๔ คน

๑. ซอสามสาย สีเก็บบ้าง โหยหวนเสียงยาวๆ บ้าง มีหน้าที่คลอเสียงคนร้องและดำเนินทำนองเพลง

๒. กระจับปี่ ดีดดำเนินทำนองถี่บ้างห่างบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง

๓. โทน ตีให้สอดสลับไปแต่อย่างเดียว (เพราะยังไม่มีรำมะนา) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ

๔. กรับพวง ตีตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย ซึ่งคนร้องเป็นผู้ตี
          วงมโหรีอย่างนี้ได้ค่อยๆ เพิ่มเครื่องดนตรีมากขึ้นเป็นขั้นๆ ขั้นแรกเพิ่มรำมะนาให้ตีคู่กับโทน แล้วเพิ่มฉิ่งแทนกรับพวง ต่อมาก็เพิ่มขลุ่ยเพียงออ และนำเอาจะเข้เข้ามาแทนกระจับปี่ต่อจากนั้น ก็นำเอาเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวง ปี่พาทย์เข้ามาผสม แต่เครื่องดนตรีที่นำมาจากวงปี่พาทย์นั้น ทุกๆ อย่างจะต้องย่อขนาดให้เล็กลง เพื่อให้เสียงเล็กและเบาลง ไม่กลบเสียงเครื่องดีดเครื่องสีที่มีอยู่แล้ว



<<<ก่อนหน้า 

วงมโหรี

เกิดจากการประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีวิวัฒนาการมาจากวงขับไม้


วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญนั้นโดยแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในโอกาสต่างๆทั้งงานมงคล เช่นงานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรีและงานอวมงคล

เช่นงานศพ การที่วงปี่ พาทย์มอญเป็นที่นิยมบรรเลงเฉพาะในงานศพในปัจจุบันก็เพราะว่าท่วงทำนองเพลง และการบรรเลงมีสำเนียงและลีลาที่

โศกเศร้าเข้ากับบรรยากาศของงานศพดังลายพระ หัตถ์ที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ในหนังสือ

สาส์นสมเด็จที่กล่าวถึงที่มาของการใช้วงปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพมี ความว่า

          "เรื่องที่ใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้นหม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวงตรัสเล่าว่าปี่พาทย์มอญทำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องาน

สมเด็จพระเทพสิรินทรา บรมราชินีด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระเทพสิรินทราฯทรงเป็นเชื้อ สายมอญแต่จะเป็นทางไหนหม่อม

ฉันไม่ทราบเคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคนหนึ่งเรียกว่า "ท้าวทรงกันดาล ทรงมอญ"ว่าเพราะเป็นมอญพระองค์คงจะทราบดีว่าคงเป็นเพราะเหตุ นั้น

งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้นโดยเป็น เชื้อสายของสมเด็จพระเทพสิรินทราฯ คนภายนอกอาจจะเอา

อย่างงานพระศพหลวงไป เพิ่มหรือไปหาเฉพาะปี่พาทย์มอญมาทำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิมแล้วจึงทำตามกันต่อ มาจนพากันเข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็น "ศพผู้ดี"เหมือนกับเผาศพต้อง จุดพลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง อันที่จริงปี่พาทย์มอญนั้นชาวมอญเขาก็ใช้ทั้งใน
งานมงคลและงานศพเหมือนกับปี่พาทย์ไทย กลองคู่กับปี่ชวา และ ฆ้อง ประสมกันซึ่ง เรียกว่า "บัวลอย" ก็ใช้ทั้งงานศพและงานมงคล"



<<<ก่อนหน้า

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

คือวงปี่พาทย์ผสมชนิดหนึ่ง มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจาก การแสดงละครดึกดำบรรพ์ซึ่ง เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดย อาศัยแนวอุปรากร (Opera) ของตะวันตกเข้าประกอบ


ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละครซึ่งเจ้า พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้งชื่อว่า โรงละครดึกดำบรรพ์ ละครก็เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์ ด้วย วงปี่พาทย์ที่

ใช้ประกอบการแสดงละครนี้จึงมีชื่อว่า "ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" ประกอบ ไปด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับ

การแสดงละคร ดึกดำบรรพ์ดังนี้

- ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม) 1 ราง

- ตะโพน 1 ใบ

- ระนาดทุ้ม 1 ราง

- กลองตะโพน 1 คู่

- ระนาดทุ้มเหล็ก 1 ราง

- ฉิ่ง 1 คู่

- ฆ้องวงใหญ่ 1 วง

- ซออู้ 1 คัน

- ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

- ขลุ่ยอู้ 1 เลา

- ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะมีการประสมวงในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไป

จากลักษณะของวงปี่พาทย์ทั่วไปแล้วยังได้เปลี่ยนแปลง

ตำแหน่งของการวางเครื่องดนตรี อีกด้วยกล่าวคือ ตั้งระนาดเอกไว้ตรงกลางวง ระนาดทุ้มอยู่ขวา ระนาดทุ้มเหล็ก อยู่ซ้าย ฆ้องวงใหญ่อยู่หลัง

ระนาดเอก



วงปี่พาทย์นางหงส์

คือวงปี่พาทย์ธรรมดาที่นำมาใช้บรรเลงประโคมศพแต่ ใช้ปี่ชวา1 เลา แทน ปี่นอก และ ปี่ใน และนำกลองมลายู 1 คู่ มาแทนกลอง

แขกโดยตัด ตะโพน และ กลองทัด ออกแต่ยังคง โหม่ง ไว้
วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ เหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ก็เพราะใช้เพลงเรื่อง   นางหงส์ 2 ชั้นเป็นหลักสำคัญในการบรรเล




<<<ก่อนหน้า 

วงปี่พาทย์ไม้นวม

วงปี่พาทย์ไม้นวม กำเนิดของวงนี้มาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง กล่าวคือ เปลี่ยนหัวไม้ที่ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จากที่เป็นหัวไม้แข็งก็มาใช้ไม้นวม (ใช้พันผ้าแล้วถักด้วยเส้นด้ายสลักจนนุ่ม)แทนทำให้ลดความดังและความเกรี้ยวกราดของเสียงลง เครื่องเป่าแต่เดิมที่ใช้ปี่ในซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออแทนซึ่งมีเสียงเบากว่า และยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก ๑ คัน ทำให้วงมีเสียงนุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม



เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้นวม

1. ขลุ่ยเพียงออ

2. ระนาดเอก

3. ระนาด ทุ้ม

4. ฆ้องวงใหญ่

5. ฆ้องวงเล็ก

6. ตะโพน

7. กลองทัด
          8. ฉิ่ง



<<<ก่อนหน้า