วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงมโหรีสมัยปัจจุบัน

วงมโหรีที่นิยมใช้บรรเลงกันอยู่ในปัจจุบัน  เห็นได้ว่ารวมเอาเครื่องดีดสี เช่น ซอ จะเข้ และเครื่องตีเป่า เช่ ระนาด ฆ้อง โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ และขลุ่ย เข้าผสมวง แต่ย่อขนาดเครื่องตีบางอย่าง เช่น ระนาด และฆ้องวงให้เล็กลง ปรับเครื่องตีเป่าที่ผสมวงให้เสียงประสานกลมกลืนกันกับเครื่องดีดสี และเล่นรวมวงกันได้ทั้งศิลปินชายหญิง กำหนดวงตามจำนวนศิลปิน และเครื่องดนตรีที่รวมผสมวงเป็น 3 ขนาด เรียกชื่อวงตามจำนวนเครื่องและศิลปิน



วงมโหรีโบราณ

มีเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงเพียง ๔ คน

๑. ซอสามสาย สีเก็บบ้าง โหยหวนเสียงยาวๆ บ้าง มีหน้าที่คลอเสียงคนร้องและดำเนินทำนองเพลง

๒. กระจับปี่ ดีดดำเนินทำนองถี่บ้างห่างบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง

๓. โทน ตีให้สอดสลับไปแต่อย่างเดียว (เพราะยังไม่มีรำมะนา) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ

๔. กรับพวง ตีตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย ซึ่งคนร้องเป็นผู้ตี
          วงมโหรีอย่างนี้ได้ค่อยๆ เพิ่มเครื่องดนตรีมากขึ้นเป็นขั้นๆ ขั้นแรกเพิ่มรำมะนาให้ตีคู่กับโทน แล้วเพิ่มฉิ่งแทนกรับพวง ต่อมาก็เพิ่มขลุ่ยเพียงออ และนำเอาจะเข้เข้ามาแทนกระจับปี่ต่อจากนั้น ก็นำเอาเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวง ปี่พาทย์เข้ามาผสม แต่เครื่องดนตรีที่นำมาจากวงปี่พาทย์นั้น ทุกๆ อย่างจะต้องย่อขนาดให้เล็กลง เพื่อให้เสียงเล็กและเบาลง ไม่กลบเสียงเครื่องดีดเครื่องสีที่มีอยู่แล้ว



<<<ก่อนหน้า 

วงมโหรี

เกิดจากการประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีวิวัฒนาการมาจากวงขับไม้


วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญนั้นโดยแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในโอกาสต่างๆทั้งงานมงคล เช่นงานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรีและงานอวมงคล

เช่นงานศพ การที่วงปี่ พาทย์มอญเป็นที่นิยมบรรเลงเฉพาะในงานศพในปัจจุบันก็เพราะว่าท่วงทำนองเพลง และการบรรเลงมีสำเนียงและลีลาที่

โศกเศร้าเข้ากับบรรยากาศของงานศพดังลายพระ หัตถ์ที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ในหนังสือ

สาส์นสมเด็จที่กล่าวถึงที่มาของการใช้วงปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพมี ความว่า

          "เรื่องที่ใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้นหม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวงตรัสเล่าว่าปี่พาทย์มอญทำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องาน

สมเด็จพระเทพสิรินทรา บรมราชินีด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระเทพสิรินทราฯทรงเป็นเชื้อ สายมอญแต่จะเป็นทางไหนหม่อม

ฉันไม่ทราบเคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคนหนึ่งเรียกว่า "ท้าวทรงกันดาล ทรงมอญ"ว่าเพราะเป็นมอญพระองค์คงจะทราบดีว่าคงเป็นเพราะเหตุ นั้น

งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้นโดยเป็น เชื้อสายของสมเด็จพระเทพสิรินทราฯ คนภายนอกอาจจะเอา

อย่างงานพระศพหลวงไป เพิ่มหรือไปหาเฉพาะปี่พาทย์มอญมาทำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิมแล้วจึงทำตามกันต่อ มาจนพากันเข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็น "ศพผู้ดี"เหมือนกับเผาศพต้อง จุดพลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง อันที่จริงปี่พาทย์มอญนั้นชาวมอญเขาก็ใช้ทั้งใน
งานมงคลและงานศพเหมือนกับปี่พาทย์ไทย กลองคู่กับปี่ชวา และ ฆ้อง ประสมกันซึ่ง เรียกว่า "บัวลอย" ก็ใช้ทั้งงานศพและงานมงคล"



<<<ก่อนหน้า

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

คือวงปี่พาทย์ผสมชนิดหนึ่ง มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจาก การแสดงละครดึกดำบรรพ์ซึ่ง เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดย อาศัยแนวอุปรากร (Opera) ของตะวันตกเข้าประกอบ


ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละครซึ่งเจ้า พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้งชื่อว่า โรงละครดึกดำบรรพ์ ละครก็เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์ ด้วย วงปี่พาทย์ที่

ใช้ประกอบการแสดงละครนี้จึงมีชื่อว่า "ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" ประกอบ ไปด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับ

การแสดงละคร ดึกดำบรรพ์ดังนี้

- ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม) 1 ราง

- ตะโพน 1 ใบ

- ระนาดทุ้ม 1 ราง

- กลองตะโพน 1 คู่

- ระนาดทุ้มเหล็ก 1 ราง

- ฉิ่ง 1 คู่

- ฆ้องวงใหญ่ 1 วง

- ซออู้ 1 คัน

- ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

- ขลุ่ยอู้ 1 เลา

- ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะมีการประสมวงในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไป

จากลักษณะของวงปี่พาทย์ทั่วไปแล้วยังได้เปลี่ยนแปลง

ตำแหน่งของการวางเครื่องดนตรี อีกด้วยกล่าวคือ ตั้งระนาดเอกไว้ตรงกลางวง ระนาดทุ้มอยู่ขวา ระนาดทุ้มเหล็ก อยู่ซ้าย ฆ้องวงใหญ่อยู่หลัง

ระนาดเอก



วงปี่พาทย์นางหงส์

คือวงปี่พาทย์ธรรมดาที่นำมาใช้บรรเลงประโคมศพแต่ ใช้ปี่ชวา1 เลา แทน ปี่นอก และ ปี่ใน และนำกลองมลายู 1 คู่ มาแทนกลอง

แขกโดยตัด ตะโพน และ กลองทัด ออกแต่ยังคง โหม่ง ไว้
วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ เหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ก็เพราะใช้เพลงเรื่อง   นางหงส์ 2 ชั้นเป็นหลักสำคัญในการบรรเล




<<<ก่อนหน้า 

วงปี่พาทย์ไม้นวม

วงปี่พาทย์ไม้นวม กำเนิดของวงนี้มาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง กล่าวคือ เปลี่ยนหัวไม้ที่ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จากที่เป็นหัวไม้แข็งก็มาใช้ไม้นวม (ใช้พันผ้าแล้วถักด้วยเส้นด้ายสลักจนนุ่ม)แทนทำให้ลดความดังและความเกรี้ยวกราดของเสียงลง เครื่องเป่าแต่เดิมที่ใช้ปี่ในซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออแทนซึ่งมีเสียงเบากว่า และยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก ๑ คัน ทำให้วงมีเสียงนุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม



เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้นวม

1. ขลุ่ยเพียงออ

2. ระนาดเอก

3. ระนาด ทุ้ม

4. ฆ้องวงใหญ่

5. ฆ้องวงเล็ก

6. ตะโพน

7. กลองทัด
          8. ฉิ่ง



<<<ก่อนหน้า 

วงปี่พาทย์เสภา

ป็นวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับการเล่นเสภาในอดีต  มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ ดังนี้ 
๑. เริ่มแรกผู้ขับจะขับเสภาเป็นเรื่องราว  พร้อมกับขยับกรับในไม้ต่างๆให้สอดประสานไปกับบทจนจบเรื่อง
๒. ต่อมาให้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบในการขับเสภา  แต่บรรเลงเฉพาะกิริยาอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละครในบท  เช่น ไป มา โกรธ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น
๓. ต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น  โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ  เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลง รัวประลองเสภา   ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู  แล้วขับเข้าเรื่อง  บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ  กระทำสลับกันจนจบเรื่อง  ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย  เมื่อปี่พาทย์รับแล้ว  จะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็น ลูกหมด
๔. การขยับกรับขับเสภาเป็นเรื่องราวจึงลดน้อยค่อยๆหายไป  คงเหลือแต่การนำบทเสภาในเรื่องต่างๆมาขับร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  พร้อมทั้งสร้างรูปแบบ  ลำดับวิธีการบรรเลงปี่พาทย์เสภา  ยึดถือเป็นระเบียบดังนี้ 
๑. รัวประลองเสภา   
๒. โหมโรงเสภา  
๓. เพลงพม่า ๕ ท่อน 
๔. เพลงจะเข้หางยาว   
๕. เพลงสี่บท   
6. เพลงบุหลัน
จากนั้นจะร้องและบรรเลงเพลงประเภททยอย  เช่น ทยอยเขมร  ทยอยนอกทยอยใน  โอ้ลาว  แขกลพบุรี  แขกโอด เป็นต้น  หรืออาจต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ เมื่อจะจบการ บรรเลง  จะบรรเลงและขับร้อง เพลงลา" เป็นอันดับสุดท้าย  สำหรับเพลงลาเป็นเพลงลักษณะหนึ่งที่ท่วงทำนองตอนหนึ่งให้ปี่ว่า ดอก ตามบทร้อง เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง  เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
วงปี่พาทย์เสภามีรูปแบบจัดวง ๓ รูปแบบ
๑. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้า
๒. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่
๓. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องใหญ่
ลักษณะการจัดวงใช้วิธีการจัดวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เปลี่ยนเอากลองทัดและตะโพนออก ใช้กลองสองหน้าควบคุมจังหวะหน้าทับแทน



<<<ก่อนหน้า 

วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  วงปี่พาทย์เครื่องหนักวงปี่พาทย์จัดเป็นวงดนตรี

ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายสูงสุดในกลุ่มวงปี่พาทย์ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นวงดนตรีที่มีความเป็นมาตรฐานที่สูงสุดอีกด้วย เครื่องดนตรีที่สังกัดในวงดนตรีประเภทนี้ทุกเครื่องจะมีเสียงดัง เนื่องจากบรรเลงด้วยไม้ตีชนิดแข็ง จึงเรียกชื่อวงดนตรีชนิดนี้ว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง ตามลักษณะของไม้ที่ใช้บรรเลง

บรรเลง อรรถรสที่ได้จากการฟังดนตรีชนิดนี้จึงมีทั้งความหนักแน่น สง่าผ่าเผย คล่องแคล่ว และสนุกครึกครื้น  จึงสามารถบรรเลงได้ในโอกาสทั่วๆไป  เช่น  งานพระราชพิธี  งานบวชนาค  งานโกนจุก  เทศน์มหาชาติ  ประกอบการแสดง  โขน  ละคร  ลิเก  หนังใหญ่  เป็นต้น

วงปี่พาทย์ไม้แข็งสามารถแบ่งตามขนาดของวง   ได้เป็น ๓ ขนาด คือ

1.1.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า

อาจารย์มนตรี ตราโมท(ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยของกรมศิลปากร) ได้อธิบายปี่พาทย์ที่เกิด ขึ้น ในสมัยสุโขทัยไว้ว่า เป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีลักษณะวงเป็นเครื่องห้า มีเครื่องดนตรีประกอบไปด้วย

๑ ปี่ มีหน้าที่เป่าบรรเลงทำนอง

๒ ฆ้องวงมีหน้าที่ ดำเนินทำนองหลัก

๓ ตะโพนมีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ

๔ กลองทัด (ใบเดียว) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ

๕ ฉิ่ง มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย (จังหวะหนักเบา)

1.2.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ พัฒนามาจากวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้าโดยการจัดเครื่องดนตรีให้เป็นคู่กัน  จึงเรียกว่าวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์ชนิดนี้เกิดขึ้นในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยมีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กขึ้นเพื่อให้คู่กับระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่

1.3.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่

วงดนตรีประเภทนี้เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่เป็นหลัก แต่มีการเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้นอีกอย่างละราง นับเป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีวิวัฒนาการสูงสุดในปัจจุบัน


วงปี่พาทย์

เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี และพิธีต่างๆ แบ่งได้ 6 ชนิด ดังนี้

1.วงปี่พาทย์ไม้แข็ง


  











   

วงเครื่องสาย

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์

๑. วงเครื่องสายไทย
วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า วงเครื่องสายมีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่


๒. วงเครื่องสายผสม
 เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความกลมกลืนมากน้อยเพียงใด 


<<<ก่อนหน้า 

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

"ครูแปลก" เกิดที่หลังวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูช้อย สุนทรวาทิน ท่านเคยได้บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยถวายต่อหน้า สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียที่พิพิธภัณฑ์เมืองริมบลีย์ จนถึงกับถูกขอให้ไปเป่าถวายในพระราชวังบัคกิงแฮมต่อด้วย
ครูแปลกเป็นคนติดเหล้าอย่างหนัก แต่ไม่เคยเมาต่อหน้าศิษย์ ได้เป็นครูสอนวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นขุนประสานดุริยศัพท์ จนได้เป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ใน       พ.ศ. 2458 ท่านเคยเป่าปี่เพลงทยอยเดี่ยวในพระประดิษฐ์ไพเราะฟัง ถึงกับได้รับคำชมว่า "เก่งไม่มีใครสู้"
นอกจากท่านจะเชี่ยวชาญปี่และขลุ่ยแล้ว ยังเก่งพวกเครื่องหนังด้วย ขนาดสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานณุพัธุวงศ์วรเดชตรัสชมว่า "ไม่ใช่คนนี่.. ไอ้นี่มันเป็นเทวดา" ท่านเป็นอาจารย์ของศิษย์ชั้นครูมากมาย เช่นพระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พระยาภูมิเสวิน อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นต้น

ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น




<<<ก่อนหน้า 

ครูช้อย สุนทรวาทิน

ครูช้อยเป็นคีตกวีผู้อาภัพ พิการทางตาตั้งแต่เล็ก และเป็นคีตกวีที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แต่ท่านเป็นครูปี่พาทย์ที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สอนดนตรีหญิงที่ตำหนักเจ้าลาว (เจ้าดารารัศมี) และเป็นครูของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (เนียม) ท่านมีผลงานในการแต่งเพลงรวมทั้งขยายเพลงเดิม เช่น โหมโรงครอบจักรวาลสามชั้น, แขกลพบุรีสามชั้น, แขกโอดสามชั้น, อกทะเลสามชั้น, โหมโรงมะลิเลื้อย




<<<ก่อนหน้า 

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร"
นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง
ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว แม้ในการประกวดการประดิษฐ์ทางรับ คือการนำเพลงที่ไม่เคยรู้จักมาร้องให้ ปี่พาทย์รับ ท่านก็สามารถนำวงรอดได้ทุกครา

ผลงานเด่นๆ ของท่านมีมากมาย ได้แก่
- ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"    เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.6
- ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว
- พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ  พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง"   "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
- คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
- นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
- สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น   เพลงไทยหลายเพลง
- ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย



<<<ก่อนหน้า 

พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)

คีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ
อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระประดิษฐ์ไพะเราะ"
บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ





<<<ก่อนหน้า